วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ

ระบบสารสนเทศ(information sysem)หมายถึง ?
    หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร

ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ 

1. ฮาร์ดแวร์ 
2. ซอฟต์แวร์ 
3. ข้อมูล
4. บุคลากร
5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน





                 ส่วนประกอบทั้งห้าส่วนนี้ทำให้เกิดสารสนเทศได้ หากขาดส่วนประกอบใด หรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศ ไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับงาน ก็จะทำให้งานล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ความสำคัญ กับส่วนประกอบทั้งห้านี้ 

      
1. ฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจเมื่อพิจารณาเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น  3 หน่วย คือ
        หน่วยรับข้อมูล (input unit) ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์
        หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
        หน่วยแสดงผล (output unit) ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์


2 . ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่างๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้      ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย (Graphical User Interface : GUI) ส่วนซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กรส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่าจ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น
 ซอฟต์แวร์ คือ  ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้หลายประเภท เช่น
    1. ซอฟต์แวร์ระบบ  คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ  เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
    2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์  คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น     ซอฟต์แวร์กราฟิก     ซอฟต์แวร์ประมวลคำ    ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน      ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล

3. ข้อมูล
ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ

4. บุคลากร
          บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
          ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน 

 ชนิดของระบบสารสนเทศ
              ระดับการบริหาร
ระบบสารสารสนเทศ
              ระดับสูงระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง
              ระดับกลางระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ระบบสนับสนุนเพื่อการตัดสินใจ
              ระดับต้นระบบการประมวลผลรายการ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
              ระดับปฏิบัติการระบบการประมวลผลรายการ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ




1.ระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing systems :TPS)
              การดำเนินงานขององค์กรหนึ่ง ๆ นั้น จะประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ในการปฏิบัติงานแต่ละกิจกรรมนั้น พบว่าต้องใช้ TPS เป็นพื้นฐานเสมอ ซึ่ง TPS เหล่านี้ได้มาจากข้อมูลที่ถูกส่งจากแผนกหนึ่งไปอีกแผนกหนึ่ง การประมวลผลแบบนี้ อาจจะถือได้ว่าเป็นกิจกรรมหลักขององค์กรในแต่ละวัน โดยเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์อย่างมีระบบตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ รวมกับข้อคิดบางอย่างเป็นข่าวสารที่นำไปใช้ได้ทันที สามารถเขียนเป็นวัฏจักรของการประมวลผลได้ดังนี้
              วิธีการประมวลผลมี 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ ทำด้วยมือ (manual data processing)และการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (electronic data processing) ซึ่งอาจจะเป็นแบบ batch หรือแบบ on-line ก็ได้
ตัวอย่าง เช่น ระบบสารสนเทศของห้างสรรพสินค้า ที่รับชำระค่าสินค้า ออกใบเสร็จ ตัดสต็อกสินค้าอัตโนมัติ ออกรายงานการขายประจำวันต่อ พนักงานขายได้


2.ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems : OAS)

              เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนงานธุรการในองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นหมายถึงการประสานงานในด้านต่าง ๆ ของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งอาจจะต้องให้เทคโนโลยีทางด้านเครือข่ายเข้ามาช่วย และในปัจจุบันมี Sofeware หลายตัวที่ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีแล้วสามารถช่วยให้การทำงานด้านี้รวดเร็วขึ้น เช่น การใช้งานโปรแกรม ไมโครซอฟต์ออปฟิดต์ เพื่อการจัดทำเอกสาร การใช้งาน e-mail voice-mail หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ ผ่านเว็บ ระบบ E-office 

3.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (management information systems: MIS)

              MIS นี้เปรียบเสมือนเป็นผู้ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ (decision making) และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งสารสนเทศที่นำมาใช้ใน MIS นี้ได้มาจาก TPS แต่อาจจะมีการใช้สารสนเทศหรือความรู้จากที่อื่นประกอบด้วย เช่น แนวโน้มทางด้านเศรษฐศาสตร์ ปริมาณและความต้องการในการกู้ยืมเงินของประชาชน เป็นต้น
การ

              การตัดสินใจบางอย่างในองค์กรธุรกิจ อาจจะอยู่ในรูปแบบที่เกิดขึ้นเป็นประจำแบบปกติ (recur regularly) เช่น ต้องการข้อมูลแบบนี้ทุก ๆ อาทิตย์ ทุก ๆ เดือน หรือทุก ๆ ไตรมาส เป็นต้น ซึ่งกลุ่มของสารสนเทศที่ต้องากรนั้นมักจะเป็นกลุ่มที่แน่นอนตายตัว สามารถเขียนโครงสร้างของการตัดสินใจหรือรูปแบบรายงานไว้ล่วงหน้าและสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ เมื่อมีเหตุการณ์หรือเงื่อนไขดังกล่าวเกิดขึ้น ซึ่งใช้การวิเคราะห์ขั้นต้นเท่านั้น

4.สารสนเทศที่ใช้ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (decision support systems :DSS)

              การตัดสินใจบางอย่างไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำแบบปกติ คืออาจจะมีบางปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เข้ามาอย่างกระทันหันและต้องการตัดสินใจ โดยบางครั้งอาจจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเกียว หรือไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย DSS จะเป็นเสมือนผู้ช่วยผู้บริหารที่จะต้องทำการตัดสินใจ เกี่ยวกับสถานะภาพเฉพาะบางอย่าง อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง (unstructured) หรือกึงโครงสร้าง (semi-structured) ซึ่งยากที่จะเตรียมรูปแบบของรายงานที่แน่นอนไว้ล่วงหน้า จะเห็นว่า DSS นี้เป็นระบบสารสนเทศที่ยืดหยุ่นมากกว่าระบบสารสนเทศชนิดอื่น ๆ ต้องใช้การวิเคราะห์ชั้นสูง

5.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems :ESS)

              เป็นระบบที่พยายามจัดทำสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูง ซึ่งภาระส่วนใหญ่จะเป็นการวางแผนระยะยาวว่าองค์กรจะไปในทิศทางใด ซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้นั้นส่วนหนึ่งมาจากระบบ TPS และที่ขาดไม่ได้คือ ข้อมูลจากภายนอกองค์กร เพื่อนำมาเปรียบเทียบให้เห็นว่าองค์กรของตนเองนั้นอยู่ในระดับใด และแนวโน้มเป็นอย่างไร ส่วนการประมวลผลนั้นมักจะใช้สภาพการจำลอง การพยากรณ์ เป็นต้น



การนำระบบสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการตัดสินใจ

            เหตุที่มีการนำระบบสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการตัดสินใจ ก็คือมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจ เช่น การมีข้อมูลและสารสนเทศมากขึ้น  มีการแข่งขันกันมากขึ้น  ความซับซ้อนในการวางกลยุทธ์มากขึ้น  นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่น ๆ อีกหลายประการ คือ

            1.  เหตุผลในส่วนของสารสนเทศ   เนื่องจากสารสนเทศมีความสำคัญต่อการตัดสินใจมาก  การตัดสินใจโดยไม่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนจะมีความยากมาก เนื่องจาก
                        1.1 จำนวนทางเลือกในการแก้ปัญหามีมากขึ้น
                        1.2 การตัดสินใจภายใต้เวลาที่จำกัด
                        1.3 สภาพการณ์ตัดสินใจมีความผันผวน หรือ มีความไม่แน่นอนมากขึ้น
                        1.4 ความจำเป็นที่ต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ต่างสถานที่กัน

            2. เหตุผลในส่วนของเวลา
                        ผู้ตัดสินใจส่วนใหญ่จะเป็นผูบริหารซึ่งมีงานที่จะต้องทำเป็นจำนวนมาก  ดังนั้นการใช้เวลาในการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป ย่อมมีผลกระทบต่อการแก้ปัญหาอื่น ๆ

ความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
มีผู้ให้ความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) ไว้ต่าง ๆ กัน  ดังนี้
Scott Morton (1971) กล่าวว่า  “DSS เป็นระบบที่สามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ซึ่ง คอมพิวเตอร์นี้จะช่วยทำให้ผู้บริหารสามารถนำข้อมูล และแบบจำลองต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์เพื่อการแก้ปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างได้
Keen & Scott Morton (1979) “DSS เป็นระบบที่ถูกเชื่อมโยงกันระหว่างทรัพยากรสมองของมนุษย์ให้ทำงานร่วมกับความสามารถของคอมพิวเตอร์  เพื่อต้องการปรับปรุงคุณภาพของการตัดสินใจให้ดีที่สุด กล่าวคือ DSS เป็นระบบ ระบบหนึ่งที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์คอยช่วยเหลือและให้การสนับสนุนเพื่อให้บุคคลผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจสามารถจัดการกับปัญหากึ่งโครงสร้าง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิวัฒนาการของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
           
ระยะเริ่มแรก 
กลางปี 1950 นำ คอมพิวเตอร์เครื่องแรก (UNIVAC I) มาประยุกต์ใช้ในองค์กรธุรกิจ  ใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรของอเมริกา
            ระบบที่นำมาใช้ในระยะเริ่มแรกนี้เรียกว่า ระบบประมวลผลรายการข้อมูล (Transaction Processing System : TPS)  ระบบจัดทำรายงานสารสนเทศ (Information Reporting System)  และเกิดแนวคิดการจัดทำสารสนเทศขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง เรียกระบบนี้ว่า  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS)

ระยะที่สอง
ประมาณปี 1960-1970  มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์  และเกิดมีระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS)

ระยะที่สาม
ระบบที่มีอยู่ยังมีข้อจำกัดในการสนับสนุนการตัดสินใจ  จึงมีความพยายามพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) ขึ้น ในช่วงปี 1970-4980  ต่อมา DSS ถูกนำไปใช้งานใน 2 ลักษณะ คือ  ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS) และระบบสนับสนุนการตัดสินใจเป็นทีม (Group Support System: GSS)

ระยะที่สี่
ตั้งแต่กลางปี 1980 เป็นต้นมา  มีการพัฒนาระบบที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นที่ปรึกษาของผู้บริหาร เรียกว่า ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System: ES)  โดยอาศัยแนวคิดจากเรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)  ต่อมามีการคิดเทคนิคแก้ไขข้อบกพร่องของ AI คือ คิด โครงข่ายใยประสาทเสมือน/คอมพิวเตอร์โครงข่ายใยประสาท (Artificial Neural Network/Neural Computing)  และระบบตรรกคลุมเครือ (Fuzzy Logic) เพื่อช่วยให้ระบบสามารถตัดสินใจได้มากกว่า 2 ด้าน  ในที่สุดมีการพัฒนาเทคโนโลยี การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP)

ระยะที่ห้า
วิวัฒนาการล่าสุดของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในศตวรรษ 21 คือ ตัวแทนปัญญา (Intelligent Agent) เพื่อลดข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่น ๆ ทั่วโลก โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  

ลักษณะและความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
1. สามารถสนับสนุนการตัดสินใจทั้งในสถานการณ์ของปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
2.    สามารถรองรับการใช้งานของผู้บริหารทุกระดับ
3.    สามารถสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม และแบบเดี่ยว
4.    สามารถสนับสนุนการตัดสินใจได้ทั้งปัญหาแบบเกี่ยวพันและ/หรือปัญหาต่อเนื่อง
5.    สนับสนุนการตัดสินใจในขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการตัดสินใจได้
6.    สนับสนุนกระบวนการและรูปแบบการตัดสินใจที่มีความหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.    มีความยืดหยุ่นสูง
8.    ใช้งานง่าย
9.    ในการพัฒนาจะเน้นหนักในการทำงานที่สำเร็จตามเป้าหมายมากกว่า 
       ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ
10.           มีหน้าที่สนับสนุนการตัดสินใจเท่านั้น ไม่ใช่ทำหน้าที่แทนผู้ตัดสินใจ
11.           ระบบที่มีความซับซ้อน ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

12.           เป็นระบบที่ใช้วิธีวิเคราะห์สถานการณ์การตัดสินใจด้วยแบบจำลอง 
           ต่าง ๆ ระบบจึงต้องสามารถสร้างแบบจำลอง เพื่อทดสอบป้อนค่า
           ตัวแปร และเปลี่ยนค่าไปเรื่อย ๆ เพื่อสร้างทางเลือกต่าง ๆ
13.           สามารถเข้าถึงแหล่งเก็บข้อมูลได้หลากหลาย

ประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
1.    พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานส่วนบุคคล โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ
2.    พัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหา ช่วยให้ผู้ตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น ยังสามารถช่วยแก้ปัญหากึ่งโครงสร้าง และปัญหาไม่มีโครงสร้างได้อีกด้วย
3.    ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร DSS ที่ทำงานในลักษณะ Groupware ทำให้ผู้บริหารสามารถทำการปรึกษา ประชุม และเรียกใช้สามารถสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจผ่านเทคโนโลยีเครือข่าย คอมพิวเตอร์ได้ ทำให้สะดวก  ประหยัดเวลาและงบประมาณ
4.    ส่งเสริมการเรียนรู้หรือการฝึกหัด  เมื่อใช้งานบ่อย ๆ
5.    เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมองค์กร  เนื่องจากการตัดสินใจถูกต้องทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น

ประเภทของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

     จำแนกตามผลลัพธ์ที่ได้
1.    ระบบสอบถามข้อมูล (File Drawer System) เป็นระบบที่ง่ายที่สุด  โดย ช่วยสืบค้นข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ เช่น สอบถามยอดเงินในบัญชีผ่านทาง ATM  เพื่อประกอบการตัดสินใจเบิกเงิน
2.    ระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis System)  ระบบที่ช่วยวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อช่วยให้การตัดสินใจทำได้ง่ายขึ้น
3.    ระบบวิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis System)  เป็นระบบที่ใช้การวิเคราะห์และวางแผน โดยระบบจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายฐานข้อมูล
4.    แบบจำลองด้านการบัญชี (Accounting Model) ใช้งานด้านการวางแผนและจัดทำงบประมาณ  โดยคำนวณข้อมูลเพื่อประเมินผลลัพธ์โดยใช้ข้อกำหนดทางบัญชี   เช่น อัตราเงินเฟ้อ รายได้ และรายจ่ายในอนาคต
5.    แบบจำลองการนำเสนอ (Representational Model)  เป็นแบบจำลองที่ใช้ในการทำนายผลลัพธ์จากการตัดสินใจและสะท้อนให้พฤติกรรมที่ไม่มีความแน่นอน
6.    ระบบคัดเลือกแนวทางการตัดสินใจที่ดีที่สุด (Optimization System) เป็นระบบที่ทำการคัดเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดบนพื้นฐานการคำนวณทางคณิตศาสตร์ และช่วยกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
7.    ระบบให้คำแนะนำ (Suggestion System)  เป็นการให้คำแนะนำจากการพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ควรใช้กับการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างสูง

     จำแนกตามแนวคิดของ Holsapple และ Whinston
1.    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจโดยอาศัยข้อความ (Text-Oriented DSS)  เนื่องจากสารสนเทศมักจะถูกเก็บในรูปแบบของข้อความ
2.    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่อาศัยฐานข้อมูล (Database –Oriented DSS)   ฐานข้อมูลที่ใช้สำหรับระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบนี้ ส่วนใหญ่มักเป็นฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
3.    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกระดาษคำนวณ (ฆSpreadsheet-Oriented DSS)  อาศัย Microsoft Excel มาช่วยในกระบวนการแก้ปัญหา และให้คำแนะนำ
4.    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการแก้ปัญหา (Solver-Oriented DSS)  เป็นระบบที่สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ โดยใช้แบบจำลองและภาษา ต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
5.    ระบบสนับสนุนโดยอาศัยกฎ (Rule-Oriented DSS)  ใช้กฎที่เกิดจากการจำลองรูปแบบของกระบวนการคิดและให้เหตุผลของมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ในการตัดสินใจ
6.    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบผสม (Compound DSS)  เป็นระบบที่นำระบบต่าง ๆ มาใช้งานร่วมกัน อาจประกอบด้วยระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่กล่าวมาข้างต้นตั้งแต่ 2 ประเภทขึ้นไป

     จำแนกตามกลุ่มผู้ใช้
1.    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคล (Personal Support) ส่วนมาใช้สำหรับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
2.    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Support) ช่วยการตัดสินของกลุ่ม  ช่วยลดปัญหาการเดินทาง  ความล่าช้า  และค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม
3.    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบองค์กร  (Organizational Support) ใช้กับงานต่าง ๆ ในองค์กร    ซึ่งงานต่างประเภทกันก็อาจจะใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในลักษณะที่แตกต่างกัน

     จำแนกตามการใช้ระบบงาน
1.    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ (Custom-Made System)  เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง

2.    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำเร็จรูป (Ready-Made System) เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานทั่ว ๆ ไป ในองค์กร ต่าง ๆ 


Credit :




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น